วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษากับการเรียนการสอน

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
      เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย

1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ 


2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
      

3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น




ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน



ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษา ได้เปิดทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งแต่ละแห่งก็มีหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ปณิธานและวัตถุประสงค์ของแต่ละแห่ง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ทั้งนี้บุคลกรที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น การหล่อหลอมจากสถานศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น สรุปได้ดังนี้
      1. ด้านการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และปณิธานของวิชาชีพนั้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยยังเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้หลักสูตรจะต้องยึดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามกระแสของยุคสมัย โดยยังคงรากฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ และควรให้ความสำคัญกับการคิด วิเคราะห์ในเชิงระบบ และการประยุกต์ใช้ เนื่องจากบัณฑิตเมื่อจบการศึกษาออกไปแล้วจะต้องมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนักเทคโนโลยีการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับตัวสื่อและเครื่องมือมากกว่าการพัฒนารูปแบบและระบบการสอน



         2. ด้านผู้สอนและผู้เรียน การพัฒนาผู้สอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้สอนในสาขาดังกล่าวค่อนข้างน้อย การสร้างผู้สอนรุ่นใหม่ยังขาดความต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาผู้สอนในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากในโลกยุคปัจจุบันสื่อหรือนวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โลกทั้งใบถูกย่อลงมาเหลือเพียงแค่จอสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ต่างรับรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้สอนบางส่วนยังมีกรอบความคิดในรูปแบบเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตได้ อีกทั้งควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาและเผยแพร่งานวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง



      ในด้านผู้เรียนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องพัฒนาแนวความคิดในเชิงระบบให้มากขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำ และความภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง รวมทั้งการแสวงหาความรู้ใหม่ๆที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะระดับบัณทิตศึกษา ที่ต้องเน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย ซึ่งการรับผู้เรียนที่จบจากสาขาวิชาที่หลากหลายทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่สอดรับกับประสบการณ์ของแต่ละคน ฉะนั้นการรับผู้เรียนในแต่ละภาคการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนและจัดหลักสูตรที่หลากหลายให้สอดรับกับประสบการณ์และความถนัดให้มากที่สุด โดยเน้นกระบวนการวิเคราะห์และความคิดในเชิงระบบทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยที่หลากหลายโดยไม่เน้นไปที่การพัฒนาและสร้างสื่อเพียงอย่างเดียว การวิจัยด้านต่างๆ จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานและข้อมูลที่หลากหลายในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง
            3. ด้านวิชาชีพ ปัจจุบันมีนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ประกอบอาชีพตามองค์กรต่างๆอยู่เป็นจำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การที่จะส่งเสริมให้วิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้ได้รับการยอมรับและยกระดับให้ทัดเทียมกับสาขาอื่นๆ ได้นั้น องค์กรทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอยู่เสมอและต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อได้ในทุกระดับเพื่อพัฒนาและผลักดันวิชาชีพให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและพัฒนาการเรียนการสอนในระดับประเทศจะต้องเกิดขึ้น การส่งเสริมให้นักเทคโนโลยีการศึกษารุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถในระดับต่างๆ ยังมีน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างขององค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีเกียรติในวงการศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาต่อไป





ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

 


ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา    

คำว่า เทคโนโลยี เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์คำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษา ค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษาจึง หมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดง่ายและรวดเร็วขึ้น









วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายของการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้

"การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว"

จะเห็นว่าการศึกษามีความหมายใน ๒ มิติ คือมิติแรกเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ และมิติที่สองเป็นการพัฒนาบุคคลผู้ศึกษาเองให้มีความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรม ซึ่งทั้งสองมิติแห่งความหมายนี้แยกกันไม่ได้ ตรงกันข้ามจะต้องควบคู่กันไปเพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีความรู้ แต่มีความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรม ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมจะนำไปสู่การใช้ความรู้ในทางที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อทั้งตนเองและส่วนรวมได้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งในเรื่องนี้มีความหมายตอนหนึ่งว่า
 

ความหมายของเทคโนโลยี

เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
   
 เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ      แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ